วิธี Throat swab
ควรเก็บตัวอย่างจากผู้ป่วยโดยเร็วที่สุด ภายใน 1-3 วันแรก เมื่อเริ่มมีอาการของโรค การเก็บใช้วิธีไร้เชื้อ (aseptic technique) ตัวอย่างสำหรับแยกเชื้อและตรวจหาสารพันธุกรรม
วิธีการเก็บตัวอย่าง (Throat swab)
- เตรียมอุปกรณ์
1.1 Viral Transport Media (VTM)
1.2 กรรไกร
1.3 ไม้กดลิ้น
1.4 ไม้สวอบ ชนิด Sterile dacron หรือ Rayon swabs with plastic shafts ไม่ใช้ Calcium alginate, Cotton swabs หรือ Wooden sticks (ไม้สวอบชนิดไม้)
- อธิบายเพื่อคลายความวิตกกังวลแก่ผู้ถูกเก็บตัวอย่างหรือผู้ป่วย
- ผู้เก็บตัวอย่างต้องป้องกันตนเองตามหลักชีวนิรภัย เช่น การสวมหน้ากากนิรภัย แว่นตา ถุงมือ
- จับไม้สวอบให้ถูกต้องในลักษณะการจับปากกาหรือดินสอ ตามรูปที่ 1
- ผู้เก็บตัวอย่างเข้าทางด้านข้างของผู้ป่วย เพื่อลดโอกาสการสัมผัสสารคัดหลั่ง กรณีผู้ถูกเก็บตัวอย่าง หรือผู้ป่วยไอหรือจาม
- อธิบายให้ผู้ป่วยหายใจทางปาก จะทำให้การเก็บตัวอย่างทำได้สะดวก
- กดลิ้นผู้ป่วยด้วยไม้กดลิ้น ตามรูปที่ 2
- ป้ายสวอบบริเวณ Posterior Pharynx และ Tonsil ทั้งสองข้าง (ควรมีการหมุนไม้สวอบในขณะที่ป้ายด้วยความแรงพอสมควร ทั้งสามตำแหน่ง โดยใช้เวลาอย่างน้อย 3 วินาที) ตามรูปที่ 3
- จุ่มปลายไม้สวอบลงใน VTM และตัดปลายไม้สวอบด้วยกรรไกร
- ปิดฝาหลอด VTM และผนึกหลอดให้แน่น
- เขียนประวัติทางระบาดวิทยา ลักษณะอาการและอาการแสดงของผู้ป่วย ผู้เก็บตัวอย่าง ผู้ต้องการทราบผลการตรวจ ที่อยู่ และเบอร์โทรศัพท์ติดต่อให้ละเอียดตามใบนำส่งตัวอย่าง
- บรรจุใส่ถุงพลาสติก รัดยางให้แน่น แช่ในกระติกน้ำแข็งรีบนำส่งทันที ถ้าจำเป็นต้องรอควรเก็บไว้ในตู้เย็น (4 องศาเซลเซียส) ห้ามแช่ในช่องแช่แข็งของตู้เย็น ถ้าไม่สามารถส่งห้องปฏิบัติการภายใน 48-72 ชั่วโมง ให้เก็บตัวอย่างไว้ที่อุณหภูมิ -70 องศาเซลเซียส ก่อนนำส่ง
รูปที่ 1 แสดงลักษณะการจับไม้สวอบที่ถูกต้อง
รูปที่ 2 แสดงลักษณะการใช้ไม้กดลิ้น

รูปที่ 3 แสดงตำแหน่งที่เก็บตัวอย่าง บริเวณ Posterior Pharynx และ Tonsil ทั้งสองข้าง
|