การตรวจวิเคราะห์ไข้หวัดใหญ่ด้วยวิธีเร่งด่วนในประเทศไทย |
Mark Simmerman (CDC-IEIP)
เรียบเรียงโดย รศ.นพ.ชิษณุ พันธุ์เจริญ
หลักการของการทดสอบ
1. เป็นการตรวจหาแอนติเจนของเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ในคน
2. ใช้ตัวอย่างที่เก็บจากระบบทางเดินหายใจส่วนต้น
3. ตัวอย่างส่งตรวจควรเก็บภายใน 4 วันแรกของการเจ็บป่วย
ข้อดีของการทดสอบ
1. ทำได้ง่าย
2. ได้ผลรวดเร็วภายใน 30 นาที
3. มีประโยชน์ในการดูแลรักษาผู้ป่วย
ข้อจำกัดของการทดสอบ
1. ความไวและความจำเพาะไม่ดีเท่าการเพาะเลี้ยงในเซลล์และวิธีพีซีอาร์
2. ไม่สามารถบอกสัปทัยป์ของเชื้อ wfh
3. ไม่มีประโยชน์ในการพิจารณาประโยชน์ของวัคซีน
4. ราคาแพง
ปัจจัยที่เกี่ยวข้องต่อผลการทดสอบ
1. ความไวและความจำเพาะของการทดสอบ เท่ากับ 70-75% และ 90-99% ตามลำดับ
2. ตัวอย่างที่ส่งตรวจ ชนิดและคุณภาพ วันที่เก็บ การปฏิบัติของผู้ตรวจตามวิธีมาตรฐาน
และ ข้อจำกัดในการอ่านผล
การนำการทดสอบไปใช้ในรูปแบบต่าง ๆ
1. การสอบสวนการระบาดของโรคไข้หวัดใหญ่ ใช้ครั้งแรกใน จ.แม่ฮ่องสอน
การทดสอบให้ผลบวก 47% ซึ่งได้รับการยืนยันความถูกต้องโดยวิธีพีซีอาร์
2. การหาสาเหตุของโรคไข้หวัดใหญ่ในผู้ป่วยนอก ที่ จ.สระแก้ว
2.1
ตัวอย่างส่งตรวจจากการป้ายโพรงจมูก มีความไว 73% และความจำเพาะ 96%
2.2
ความไวและความจำเพาะเพิ่มขึ้นเป็น 81% และ 99% เมื่อใช้ตัวอย่างส่งตรวจจากน้ำล้างโพรงจมูก
2.3
ความไวและความจำเพาะสูงกว่าสำหรับเชื้อไข้หวัดใหญ่ชนิดเอ
2.4
ความชุกของโรคที่เพิ่มขึ้นทำให้ความน่าเชื่อถือของการทดสอบเพิ่มขึ้น
3. การเฝ้าระวังโรค
3.1
เพิ่มประสิทธิภาพในการเฝ้าระวังโรคในประเทศไทย มีการกระจายชุดทดสอบไปใช้
ทั่วประเทศ และอยู่ระหว่างการประเมินผล
3.2
เพิ่มจำนวนสายพันธุ์ของเชื้อที่ส่งไปตรวจยังแล็บส์ขององค์การอนามัยโลก
4. การใช้ทดสอบกรณีโรคไข้หวัดนก
4.1
มีความไวต่ำเพียง 48% และความจำเพาะ 86%
4.2
การแปลผลต้องระมัดระวัง ควรพิจารณาอาการทางคลินิก ระบาดวิทยา และการสัมผัสโรคร่วมด้วย
<<back
|