Panel Discussion – Update: Influenza Vaccine in Some Countries

ดำเนินการอภิปรายโดย
ศ.พญ. อุษา ทิสยากร
คณะแพทยศาสตร์จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย
ผู้สรุปคำบรรยาย: นพ.รุ่งเรือง กิจผาติ

1. Updates on Influenza Activities in the Philippines – Dr. Salvacion Gatchalian
        ในการเตรียมการรับการระบาดใหญ่ของประเทศฟิลิปปินส์ ได้มีการจัดตั้งคณะทำงานด้านวิชาการด้านไข้หวัดใหญ่ ประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญจากหลายสาขา ซึ่งได้ให้แนวทางการเลือกกลุ่มเป้าหมายสำหรับการรับวัคซีนไว้ดังนี้

  • กลุ่มที่มีความเสี่ยงต่อโรคแทรกซ้อนสูง ได้แก่ บุคคลอายุมากกว่า 50 ปี เด็กอายุ 6-23 เดือนและผู้ป่วยที่มีโรคเรื้อรัง เช่น โรคหัวใจ โรคปอด และหญิงมีครรภ์
  • กลุ่มที่อาจแพร่โรคสู่กลุ่มแรก ได้แก่ บุคลากรทางการแพทย์ และบุคคลใน ครอบครัวที่ดูแลผู้ป่วยกลุ่มแรก


        คณะทำงานได้ใช้ข้อมูลระบาดวิทยา ละข้อมูลสายพันธ์เชื้อไข้หวัดใหญ่จากการตรวจทางห้องปฏิบัติการในการจัดทำข้อเสนอแนะการใช้วัคซีน ในระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนมิถุนายน และใช้ Southern Hemisphere vaccine หากเป็นไปได้ จากปี 2001 – 2003 แม้การใช้วัคซีนยังไม่มาก แต่ก็มีอัตราการเพิ่มสูงขึ้นถึง 200%


2. Influenza Vaccination in Korea – Prof. Dr. Woo Joo Kim
        เกาหลีใต้ได้กำหนดกลุ่มเป้าหมายในการฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ ดังนี้

  • กลุ่มผู้สูงอายุมากกว่า 65 ปี
  • ผู้อยู่อาศัยในบ้านพักคนชรา และสถานดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
  • ผู้ป่วยทั้งเด็กและผู้ใหญ่ด้วยโรคเรื้อรัง คือโรคหัวใจ โรคปอด โรคจากเมตาบอลิสม
    (รวมทั้งโรคเบาหวาน) โรคไต โรคเลือด และภูมิคุ้มกันบกพร่อง (รวมทั้ง เอชไอวี)
  • เด็กอายุ 6-18 เดือนที่ต้องใช้ยาแอสไพรินในการรักษาระยะยาว
  • บุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข
  • หญิงมีครรภ์ในช่วงการระบาด

         ในด้านการผลิต เกาหลีใต้เริ่มผลิตวัคซีนไข้หวัดใหญ่มาตั้งแต่ พ.ศ. 2539 ในปีที่ผ่านมา สามารถผลิตได้ 1,700,000 โด๊ส คิดเป็นร้อยละ 35 ของประชากร

3. Influenza Vaccine Use in Thailand – รศ. พญ. จันทพงษ์ วะสี สมาคมไวรัสวิทยา
(ประเทศไทย)

        ปัจจุบันมีบริษัทที่นำเข้าวัคซีนไข้หวัดใหญ่มาจำหน่ายในประเทศไทย 3 บริษัทคือ Sanofi Pasteur, GSK, Chiron/Biogenetech ปริมาณการใช้เพิ่มจาก 40,091 โด๊ส ในปี พ.ศ. 2543 เป็นมากกว่า 200,000 โด๊ส ในปี พ.ศ. 2547 ในขณะนี้วัตถุประสงค์ของการใช้วัคซีนไข้หวัดใหญ่เพื่อเป็นการป้องกันการ Reassortment ของไวรัสใหม่ ๆ ที่อาจเกิดขึ้น นอกจากนี้ได้มีข้อเสนอแนะเพื่อพิจารณาการทดสอบวัคซีนในขนาดต่ำฉีดใต้ผิวหนัง

4. Influenza Management, Prevention, Prophylaxis and Treatment – ศ. พญ. พรรณพิศ
สุวรรณกูล สมาคมโรคติดเชื้อแห่งประเทศไทย

        นโยบายในการให้วัคซีนไข้หวัดใหญ่ในความเห็นของสมาคมฯ คือ จัดลำดับความสำคัญ สูงสุดแก่บุคคลต่อไปนี้

  • บุคคลสูงอายุมากกว่า 65 ปี
  • ผู้ป่วยด้วยโรคเรื้อรัง ด้วยโรคปอด และโรคหัวใจ
  • บุคลากรทางการแพทย์ และผู้ทีทำงานในสถานพักฟื้นคนชรา

 


<<back