Influenza Vaccine Procurement and Supply

วิทยากร: นพ.ศิริศักดิ์ วรินทราวาท
ผู้อำนวยการสำนักโรคติดต่อทั่วไป กรมควบคุมโรค
ผู้สรุปคำบรรยาย: นพ.รุ่งเรือง กิจผาติ

        การเตรียมความพร้อมในเรื่องการจัดหาวัคซีนไข้หวัดใหญ่ เพื่อรองรับปัญหาการระบาดใหญ่ของโรคไข้หวัดใหญ่ นับได้ว่าเป็นเรื่องสำคัญของประเทศที่ต้องดำเนินการอย่างเป็นรูปธรรม ได้มีการกำหนดกลุ่มเป้าหมายผู้ที่ต้องได้รับวัคซีน เพื่อลดโอกาสในการเกิด reassortment ได้แก่ ผู้ที่มีหน้าที่ทำลายสัตว์ปีก บุคลากรด้านการแพทย์และสาธารณสุข เจ้าหน้าที่ด้านปศุสัตว์ เจ้าหน้าที่ห้องปฏิบัติการ และทีมเฝ้าระวังสอบสวนโรคเคลื่อนที่เร็ว สำหรับกลุ่มเป้าหมายที่ควรได้รับวัคซีนเพื่อลดอัตราป่วยและอัตราตาย ได้แก่ กลุ่มเสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อนของโรคไข้หวัดใหญ่ (ผู้ที่มีอายุมากกว่า 65 ปี, ผู้ป่วย ด้วยโรคเรื้อรัง, ผู้ป่วยภูมิคุ้มกันบกพร่อง, เด็กอายุ 6 ถึง 23 เดือน) และบุคลากรที่สามารถแพร่เชื้อไวรัส ไข้หวัดใหญ่ไปยังกลุ่มเสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อนของโรคไข้หวัดใหญ่ (บุคลากรด้านการแพทย์ และผู้สัมผัสใกล้ชิดกับกลุ่มเสี่ยง) สำหรับสายพันธุ์ที่ใช้ในการผลิตวัคซีนได้มาจากคำแนะนำขององค์การอนามัยโลก ซึ่งมีเครือข่ายการเฝ้าระวังโรคไข้หวัดใหญ่ ประกอบด้วย ศูนย์เฝ้าระวังโรคไข้หวัดใหญ่ 112 แห่ง ใน 83 ประเทศทั่วโลก และศูนย์ความร่วมมือการตรวจยืนยันและการวิจัยเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ 4 แห่ง โดยที่องค์การอนามัยโลกได้แนะนำสายพันธุ์ northern hemisphere ซึ่งจะประกาศในเดือนกุมภาพันธ์ของทุกปี และสายพันธุ์ southern hemisphere ซึ่งจะประกาศในเดือนกันยายนของทุกปี หลังจากนั้นบริษัทผู้ผลิตวัคซีน จะผลิตวัคซีนตามสายพันธุ์ที่องค์การอนามัยโลกประกาศ ซึ่งใช้เวลาประมาณ 6 เดือน ก็มีวัคซีนออกจำหน่ายในท้องตลาด

         ในปี พ.ศ. 2547 กระทรวงสาธารณสุขได้เตรียมวัคซีนไข้หวัดใหญ่ เพื่อรับมือกับปัญหาการระบาดใหญ่ของเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ จำนวน 120,000 โด็ส โดยได้รับการสนับสนุนจากองค์การอนามัยโลก และในปี
พ.ศ. 2548 กระทรวงสาธารณสุขได้จัดเตรียมวัคซีนจำนวน 360,000 โด็ส

 


<<back