Northern
strain & Southern Strain หมายความว่าอะไร |
วิทยากร: Prof. Prasert Thongcharoen
IFT
Northern strain & Southern Strain หมายความว่าอะไร
1. ไวรัสที่นำไปเป็นส่วนประกอบของวัคซีน
องค์การอนามัยโลกเป็นผู้แนะนำให้นำไวรัสชนิดต่าง
ๆ มาเป็นองค์ประกอบในวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ ในฤดูการระบาดของปีต่าง
ๆ
ดังได้กล่าวไว้แล้วว่าไวรัสไข้หวัดใหญ่สามารถผันแปรกลายพันธุ์ไปได้เสมอ
องค์การอนามัยโลกได้อาศัยข้อมูลจาการเฝ้าระวังแยกเชื้อไวรัส และวิเคราะห์ลักษณะของแอนติเจนของแต่ละสายพันธุ์
โดยได้จัดประชุมคณะผู้เชี่ยวชาญเป็นระยะ ๆ เพื่อกำหนดไวรัสที่จะใช้เป็นองค์ประกอบสำหรับวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่สำหรับฤดูกาลระบาดของปีโดยประกาศให้ทราบว่าวัคซีนที่ใช้ในซีกโลกภาคเหนือในเดือนกุมภาพันธุ์
และสำหรับซีกโลกภาคใต้ในเดือนกันยายนของทุกปี
2. คำว่าวัคซีนที่ใช้ในซีกโลกภาคเหนือและซีกโลกภาคใต้หมายความว่าอย่างไร
ฤดูกาลระบาดของไข้หวัดใหญ่ในซีกโลกภาคเหนือจะระบาดอยู่ในช่วงฤดูหนาว
คือตั้งแต่เดือนพฤศจิกายนจนถึงเดือนเมษายน แต่ทางซีกโลกภาคใต้จะระบาดมากในเดือนที่อากาศหนาวเย็นคือเดือนพฤษภาคม
ถึงตุลาคม ไวรัสที่ระบาดในทั้งสองซีกโลกนี้ บางปีก็คล้ายกัน บางปีก็แตกต่างกัน
เพื่อให้วัคซีนกระตุ้นให้เกิดการสนองตอบในการสร้างภูมิคุ้มกันให้ไกล้เคียงหรือตรงกับสายพันธุ์ที่คาดว่าจะระบาดในฤดูการระบาดปีต่อไป
องค์การอนามัยโลกได้นำสายพันธุ์ของไวรัสไข้หวัดใหญ่ที่เพาะแยกได้จาก
WHO Collaborating Centres ซึ่งได้จัดตั้งขึ้นทั่โลกประมาณ 120 แห่ง
โดยใช้ National Influenza Centre ของประเทศต่างๆเป็นเครือข่ายเฝ้าระวัง
เมื่อได้ไวรัสจะนำไปศึกษา วิเคราะห์เปรียบเทียบกัน ทำให้ทราบได้ว่า
ควรจะใช้สายพันธุ์ใดจึงจะเหมาะ มีการประชุมหารือกันปีละ สอง ครั้ง
และประกาศคำแนะนำสำหรับซีกโลกภาคเหนือในเดือนกุมภาพันธุ์ และสำหรับซีกโลกภาคใต้ในเดือนกันยายน
ล่าสุดจะค้นได้จาก Wkly Epidem Rec No41, 8 October 2004;79:369-73
(สำหรับซีกโลกภาคใต้) และ No 8, 25 February 2005;80:71-5 (สำหรับซีกโลกภาคเหนือ)
สำหรับประเทศที่อยู่กึ่งกลางคือไกล้กับเส้นศูนย์สูตร
มีรายงานประปรายทั้งปี แต่ก็มักจะระบาดในช่วงอากาศเย็นและชื้น นั่นคือประมาณเดือนมิถุนายนถึงเดือนตุลาคม
จะเห็นได้ว่าไม่ตรงกับทั้งสองซีกโลกเสียทีเดียว จึงจะต้องศึกษาเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาและเพาะแยกเชื้อแล้งพิจารณาดูว่าไวรัสไข้หวัดใหญ่
สายพันธุ์ต่างที่ก่อการระบาดนั้นไกล้เคียงโน้มเอียงไปในทิศทางใด บางปีก็จะคล้ายซีกโลกภาคเหนือ
บางปีก็คล้ายซีกโลกภาคใต้ ในอดีตที่ผ่านมาได้มีการรวบรวมเอาไว้ตามตารางเปรียบเทียบดังต่อไปนี้
3. ไวรัสที่นำไปเป็นส่วนประกอบของวัคซีน
ซีกโลกภาคเหนือ:ไวรัสที่องค์การอนามัยโลกแนะนำใช้ใช้ในฤดูกาลระบาดปีพ.ศ.
2548/49 มีดังนี้คือ
a. A/H1N1 : A/New Caledonia/20/99(H1N1)
b. A/H3N2 : A/California/7/2004(H3N2)
c. B /Shanghai/161/2002
ถ้าใช้แอนติเจนของ A/California ทำปฏิกิริยากับแอนติซีรัมซึ่งเตรียมในสัตว์แทะชนิดหนึ่ง
(เฟอร์เร็ท-แอนติบอดีมีความจำเพาะสูง) ต่อไวรัส A/ California จะได้ไตเตอร์สูง
1:640
d. แอนติซีรัมอันเดียวกันนั้นทำปฏิกิริยาต่อแอนติเจน A/Wyoming และต่อแอนติเจน
A/Wellington จะได้ไตเตอร์สูงเพียง 1:160 เท่ากัน แต่ทำปฏิกิริยาต่อแอนติเจนของไวรัสไข้หวัดใหญ่ที่เพาะแยกได้ในกรุงเทพมหานคร
พ.ศ. 2547 คือสายพันธุ์ A/Bangkok/2814/04(H3N2) จะได้ไตเตอร์สูง1:640
แสดงว่าไวรัสไข้หวัดใหญ่ที่เพาะแยกได้ในประเทศไทย (กรุงเทพมหานคร)
คล้ายกับสายพันธุ์ของวัคซีนที่ใช้ในซีกโลกภาคเหนือคือ H3N2 : A/California/7/2004
ดังนั้นไวรัส A (H3N2) ที่องค์การอนามัยโลกแนะนำให้ใช้ในซีกโลกภาคเหนือก็น่าจะให้ผลในการป้องกันโรคในประเทศไทยได้
ซีกโลกภาคใต้: ไวรัสที่องค์การอนามัยโลกแนะนำใช้ใช้ในฤดูกาลระบาด ปี
พ.ศ. 2548/49 มีดังนี้คือ
e. H1N1: A /Caledonia/20/99(H1N1) คล้ายกับซีกโลกภาคเหนือ
f. H3N2: A /Wellington/1/04(H3N2)
g. B Shanghai/161/2002
ทั้ง H1N1 และ B ใช้สายพันธุ์เดียวกันทั้งสองซีกโลก
h. แต่ H3N2 ต่างกัน โดยซีกโลกใต้ องค์การอนามัยโลกแนะนำให้ใช้ A Wellington/1/04(H3N2)
ถ้าใช้แอนติเจนของ A/ Wellington ทำปฏิกิริยากับแอนติซีรัมซึ่งเตรียมในเฟอร์เร็ท
(แอนติบอดีจำเพาะ) ต่อไวรัส A/ Wellington เองจะได้ไตเตอร์สูง 1:640
i. แอนติซีรัมอันเดียวกันนั้นทำปฏิกิริยาต่อแอนติเจน A/Wyoming จะได้ไตเตอร์สูงเพียง
1:320 แต่ต่อแอนติเจนของไวรัสไข้หวัดใหญ่ที่เพาะแยกได้ในประเทศไทยคือ
A/Thailand/1406/04(H3N2) จะทำปฏิกิริยาที่ไตเตอร์สูง1:640 เท่ากับ
A/ Wellington แสดงว่าไวรัสไข้หวัดใหญ่ที่เพาะแยกได้ในประเทศไทย คล้ายกับสายพันธุ์ของวัคซีนที่ใช้ในซีกโลกใต้เช่นกันคือ
H3N2 : A/Wellington/1/04(H3N2)
j. คาดว่าไวรัสไข้หวัดใหญ่ A ที่จะระบาดในปีต่อไปในประเทศไทยน่าจะเป็นทั้งสองสายพันธุ์คือ
A/Bangkok/2814/04(H3N2) และ A/Thailand/1406/04(H3N2) ดังนั้นไวรัส
A (H3N2) ที่องค์การอนามัยโลกแนะนำให้ใช้ในซีกโลกภาคใต้ก็น่าจะให้ผลในการป้องกันโรคเช่นกัน
สรุปว่าในฤดูกาลระบาดในปีที่จะถึงนี้ไม่ว่าจะใช้วัคซีนสำหรับภาคเหนือหรือภาคใต้ก็น่าจะสามารถป้องกันโรคได้ใกล้เคียงกัน
<<back
|