การเฝ้าระวังไวรัสไข้หวัดใหญ่ทางห้องปฏิบัติการ |
วิทยากร: ปราณี ธวัชสุภา
ศูนย์ไข้หวัดใหญ่แห่งชาติ
ไวรัสไข้หวัดใหญ่จำแนกเป็น
influenza A B และ C ตามคุณสมบัติของ glycoprotein คือ Haemagglutinin
และ Neuraminidase influenza A แบ่งย่อยเป็น subtype และเป็นสาเหตุการเกิด
pandemic subtype ที่แพร่ระบาดทั่วโลกในปัจจุบันคือ H1N1 H3N2 และ
H1N2 การระบาดครั้งแรก ค.ศ. 1918 จาก subtype H1N1 มีชื่อว่า Spanish
pandemic ทำให้คนเสียชีวิตทั่วโลก 20-40 ล้านคน ต่อมามีการระบาด Asian
pandemic และ Hong Kong pandemic จาก H2N2 และ H3N2 WHO ได้จัดตั้ง
Global Influenza Surveillance Network ขึ้น 4 แห่งที่อังกฤษ สหรัฐอเมริกา
ออสเตรเลีย และญี่ปุ่น เพื่อวางแผนป้องกันและควบคุม pandemic ที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต
เพื่อประสานความร่วมมือในการเฝ้าระวังไข้หวัดใหญ่ทั่วโลก WHO จึงให้การรับรอง
Influenza Surveillance Network หรือ National influenza center (NIC)
รวม114 แห่งใน 84 ประเทศ ประเทศไทยเป็นศูนย์ไข้หวัดใหญ่แห่งชาติ (NIC)
ตั้งแต่ พ.ศ. 2515 ทำการเฝ้าระวังตัวเชื้อไข้หวัดใหญ่ตั้งแต่นั้นมา
บทบาทของ Influenza Surveillance Network มีหน้าที่เปรียบเสมือนกุญแจดอกสำคัญเชื่อมโยงระหว่างWHOกับประเทศในทุกคำถามที่เกี่ยวกับไวรัสวิทยา
และระบาดวิทยา ติดต่อประสานข้อมูลและความรู้ที่ทันสมัยกับ WHO และ
Global Influenza Surveillance Network ส่งเชื้อที่แยกได้เป็นระยะ
หากแยกเชื้อที่ผิดปกติหรือมีการระบาดจะต้องรีบรายงาน ส่งรายงานให้
WHO เป็นรายสัปดาห์ทาง WHO Flu Net เนื่องจากการเฝ้าระวังมักทำในพื้นที่ส่วนกลาง
จึงมีคำถามว่าเชื้อที่แยกได้จะเป็นตัวแทนของประเทศได้หรือไม่ ดังนั้นปี
2544 จึงได้จัดตั้งเครือข่ายขึ้นใน 4 ภาค โดยคัดเลือกให้มีพื้นที่ติดชายแดน
เพื่อดักจับเชื้อแปลกใหม่ที่อาจนำเข้าจากเพื่อนบ้าน การเฝ้าระวังโดย
คัดเลือกผู้ป่วย Flu like illness เก็บ throat swab หรือ nasopharyngeal
swab นำมาแยกเชื้อในไข่ไก่ฟักและเซลล์เพาะเลี้ยง จำแนก type subtype
ด้วยวิธี IFA HI หรือ PCR ส่งเชื้อบางส่วนให้ WHO Collaborating Center
ที่สหรัฐอเมริกา และออสเตรเลีย เพื่อจำแนกสายพันธุ์และศึกษาการกลายพันธุ์
รายงานWHO การระบาดของไข้หวัดนก ธ.ค.46มี.ค.47 ประเทศไทยพบผู้ป่วยไข้หวัดนก
(H5N1)12 รายและจำนวนมากที่เวียดนาม ก.ค.ต.ค.47 ไทยพบผู้ป่วยไข้หวัดนก
5 ราย ธ.ค.47ก.ค.48 มีผู้ป่วยไข้หวัดนกทั้งที่เวียดนาม กัมพูชา และอินโดนีเซีย
ตั้งแต่ ธ.ค.4627 ก.ค.48 จำนวนผู้ป่วยไข้หวัดนกที่กัมพูชา 4 ราย ไทย
17 ราย เวียดนาม 87 ราย และอินโดนีเซีย 1 ราย
จากการระบาดไข้หวัดนกในไทย
ผลผู้ป่วยเป็นที่ต้องการอย่างเร่งด่วน จึงได้พัฒนานำวิธีตรวจด้วย RT-PCR
เพื่อหาสารพันธุกรรมต่อ influenza A,B ในเบื้องต้น หากพบ Flu A ใช้วิธี
RT-PCR และ real time RT-PCR เพื่อหา subtype H1 H3 และ H5 ขณะเดียวกันนำมาแยกเชื้อและจำแนก
type subtype ด้วยวิธี IFA โดยใช้ monoclonal antibodies ที่จำเพาะจาก
WHO ปี 2548 ศูนย์ไข้หวัดใหญ่แห่งชาติได้จัดฝึกอบรมศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์
13 แห่ง ให้มีศักยภาพในการตรวจวินิจฉัยไข้หวัดนกโดยตรวจสารพันธุกรรมต่อ
influenza A,B และ H1,H3,H5 ด้วยวิธี RT-PCR ขณะนี้ได้เปิดบริการแก่พื้นที่ที่รับผิดชอบแล้ว
การที่มีการระบาดของไข้หวัดนกในสัตว์ปีกในประเทศแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นจำนวนมากทำให้ผู้ป่วยเพิ่มมากขึ้น
โอกาสเชื้อจะกลายพันธุ์เพิ่มสูงขึ้น ถ้าเชื้อตัวใหม่ติดคนสู่คนและสามารถแพร่อย่างรวดเร็ว
pandemic ย่อมเกิดขึ้น
ปี 2548
ผลการศึกษา influenza subtype ที่แยกได้เป็นรายสัปดาห์ พบว่า 8 สัปดาห์แรกพบ
Flu B เป็นจำนวนมากและลดน้อยลงช่วงท้าย A/H1N1 แยกได้สัปดาห์ที่ 2,
4-7, 9-11 และ 12 และไม่พบอีก ส่วน H3N2 เริ่มพบสัปดาห์ที่ 5 และเพิ่มข้นเรื่อยจนถึงสัปดาห์สุดท้ายคือ
29 สำหรับผลการแยกเชื้อเป็นรายเดือน ปี 2547ช่วงครึ่งปีแรกพบ H3N2ส่วนใหญ่
และ B ส่วนน้อย ครึ่งปีหลังพบมีการระบาดของ H1N1 ครึ่งปีแรกของ 2548
พบทั้ง H1N1 H3N2 และ B ซึ่งคล้ายคลึงกับประเทศแถบ Asia Pacific ในช่วงเวลาเดียวกันด้วย
ฤดูกาลระบาดพบแยกได้มากในช่วงมิถุนายน-ตุลาคม เพศชายมีการติดเชื้อทั้ง
Flu A, B มากกว่าเพศหญิง สายพันธุ์ที่แยกได้สำหรับ H3N2 ช่วงครึ่งปีแรก
2547 เป็น A/Fujian/411/2002 จากนั้นได้เปลี่ยนเป็น A/Wellington/1/2004
และ A/California/7/2004 ส่วน H1N1 พบสายพันธุ์เดียวคือ A/New Caledonia/20/99
influenza B พบ B/Shanghai/361/2002 B/Hong Kong/330/2001 และ B/Sichuan/379/99
เมื่อเปรียบเทียบกับสายพันธุ์วัคซีนไข้หวัดใหญ่ที่ WHO ประกาศใช้ ปี
2547 สายพันธุ์ที่แพร่ระบาดในไทยคล้ายคลึงกับ Southern hemisphere
vaccine strains ซึ่งประกอบด้วย A/New Caledonia/20/99 (H1N1) A/Fujian/411/2002
(H3N2) และ B/Hong Kong/330/2001 ส่วนปี 2548 สายพันธุ์ที่แพร่ระบาดคล้ายคลึงทั้ง
Southern และ Northern hemisphere vaccine strain ซึ่งประกอบด้วย A/New
Caledonia/20/99 (H1N1) B/Shanghai/361/2002 และ A/Wellington/1/2004
(H3N2) (Southern hemisphere) และ A/California/7/2004 (Northern hemisphere)
<<back
|