พันธุกรรมของไวรัสไข้หวัดนก
|
บรรยายโดย รองศาสตราจารย์นายแพทย์ประเสริฐ
เอื้อวรากุล
ภาควิชาจุลชีววิทยา คณะแพทย์ศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล
ไวรัสไข้หวัดใหญ่/ไข้หวัดนก
(influenza A virus) แบ่งออกเป็น 3 types คือ influenza A, B, C โดยไวรัสที่เป็นปัญหาในปัจจุบันเป็น
type A ซึ่งจะแบ่งต่อออกไปตามลักษณะแอนติเจนของ hemagglutinin (HA)
และ neuraminidase (NA) โดย HA แบ่งออกเป็น 16 subtypes และ NA แบ่งออกเป็น
9 subtypes โดยไวรัสที่ไข้หวัดนกที่เป็นปัญหาอยู่ในปัจจุบันจัดเป็น
subtype H5N1 ในขณะที่ไวรัสไข้หวัดใหญ่ที่แพร่ระบาดอยู่ในประชากรมนุษย์เป็น
H1N1 และ H3N2
ไวรัส H5N1 สามารถแบ่งกลุ่มย่อยต่อไปอีกตามลักษณะสารพันธุกรรมเป็น
genotype ต่างๆ โดยแต่ละ genotype หมายถึงไวรัสที่มีต้นกำเนิดจาก reassortment
ครั้งเดียว จึงมีที่มีของชิ้นยีโนมจากไวรัสต้นกำเนิดเดียวกัน ไวรัสบาง
genotype เกิดขึ้นแล้วก็สาบสูญไป ในขณะที่บาง genotype มีการแพร่ระบาดออกไปมากขึ้น
ไวรัสที่กำลังแพร่ระบาดอยู่ในปัจจุบันจัดเป็น genotype Z และเมื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์และวิวัฒนาการของไวรัสก็จะสามารถแบ่งไวรัสใน
genotype Z ออกไปอีกเป็น 2 clades ได้แก่ clade I ได้แก่ไวรัสที่ระบาดอยู่ในไทยและเวียดนาม
และ clade II ได้แก่ไวรัสที่ระบาดอยู่ในอินโดนีเซีย จีน ยุโรป และอัฟริกา
ในประเทศเวียดนามและอินโดนีเซีย
มีรายงานการวิเคราะห์สารพันธุรรมของไวรัสที่แพร่ระบาดอยู่ในประเทศและพบว่าสามารถแบ่งกลุ่มย่อยซึ่งมีความสัมพันธ์กับพื้นที่การะบาดด้วย
เช่นในเวียดนามไวรัสที่ระบาดทางตอนเหนือและตอนใต้ของประเทศมีความแตกต่างกัน
และพบด้วยว่าไวรัสในประเทศไทยมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับไวรัสของเวียดนามทางตอนเหนือมากว่าไวรัสของเวียดนามทางตอนใต้
ในประเทศไทยยังไม่ชัดเจนว่ามีความแตกต่างของไวรัสพอที่จะทำให้สามารถแยกเป็นกลุ่มย่อยหรือไม่
การศึกษาติดตามต่อไปอาจได้ข้อมูลที่ช่วยให้สามารถแยกกลุ่มของไวรัสได้
ซึ่งจะช่วยให้เราเข้าใจธรรมชาติและช่องทางของการแพร่ระบาดได้ดีขึ้น
<<back
|