การสนองตอบในการสร้างแอนติบอดีต่อการฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ขนาดต่ำเข้าในหนัง
|
บรรยายโดย
ประเสริฐ เอื้อวรากุล, อุไรวรรณ โฆษิตานนท,์ พรชัย สอนสถาพรกุล, ไพจิตร
โต๊ะทอง, รวีวรรณ ขันหยก, ประเสริฐ ทองเจริญ
ภาควิชาจุลชีววิทยา คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัย
การฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ขนาดต่ำเข้าในหนังเป็นวิธีการที่น่าสนใจที่จะนำไปปฏิบัติเพื่อเพิ่มจำนวนผู้ที่จะได้รับวัคซีนในกรณีที่วัคซีนขาดแคลน
คณะผู้วิจัยได้ทำการศึกษาสุ่มแบบเปิดโดยมีอาสาสมัครเข้าร่วม 500 คน
สุ่มให้ได้รับการฉีดวัคซีนเข้าในหนังขนาด 0.1 มล หรือฉีดเข้ากล้ามเนื้อ
0.5 มล โดยใช้วัคซีนรวมเชื้อตายสามสายพันธ์ชนิดแยกส่วน (trivalent
inactivated split influenza vaccine)อาสาสมัครที่มีระดับแอนติบอดียับยั้งฮีแมกกลูตินิน
(hemagglutination inhibition antibody; HI) สูงกว่า 1:40 ณ วันที่
28 หลังการฉีดวัคซีนในกลุ่มที่ฉีดเข้าในหนังและเข้ากล้ามเนื้อต่อไวรัสสายพันธุ์
H1N1เท่ากับ 93.3% และ 98.0% ต่อไวรัสสายพันธุ์ H3N2 เท่ากับ 86.3%
และ 95.0% และต่อไวรัสสายพันธุ์ B เท่ากับ43.5% และ57.0% ณ วันที่
28 อาสาสมัครที่ได้รับการฉีดเข้าในหนังมีระดับค่าเฉลี่ย (geometric
mean) เพิ่มสูงขึ้น 32.1 เท่าต่อไวรัสสายพันธุ์ H1N1 19.4 เท่าไวรัสสายพันธุ์
H3N2 และ 3 เท่าต่อไวรัสสายพันธุ์ B เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มที่ได้รับการฉีดเข้ากล้ามเนื้อจะเพิ่มสูงขึ้นเท่ากับ
48.0, 43.0 และ 3.8 เท่า ตามลำดับ ในกลุ่มที่ฉีดเข้าในหนังปฏิกิริยาเฉพาะที่พบบ่อยอย่างมีนัยสำคัญกว่ากลุ่มที่ได้รับการฉีดเข้ากล้ามเนื้อ
แต่ก็เป็นปฏิกิริยาที่อ่อนและปรากฏชั่วคราว ในการศึกษานี้ การสนองตอบในการสร้างแอนติบอดีในกลุ่มที่ได้รับการฉีดเข้าในหนังในปริมาณ
1 ใน 5 มีระดับต่ำกว่ากลุ่มที่ได้รับการฉีดเข้ากล้ามเนื้ออย่างมีนัยสำคัญ
อย่างไรก็ตาม การสนองตอบในการสร้างแอนติบอดีในกลุ่มที่ได้รับการฉีดเข้าในหนังก็ยังสูงพอตามเกณฑ์
ของคณะกรรมการพิจารณาคุณสมบัติเวชภัณฑ์แห่งยุโรป (European Commission
for Proprietry Medicinal Products CPMP) ในการยอมรับให้วัคซีนไข้หวัดใหญ่
ได้รับการจดทะเบียนจำหน่ายซ้ำประจำปี
คำสำคัญ: วัคซีนไข้หวัดใหญ่, ฉีดเข้าในหนัง, การสนองตอบทางอิมมูน,
แอนติบอดียับยั้งฮีแมกกลูตินิน
<<back
|