Economic
cost of influenza
|
บรรยายโดย แพทย์หญิงจงกล เลิศเธียรดำรง
สำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ
การประมาณการต้นทุนทางเศรษฐศาสตร์
(economic cost) ของโรคไข้หวัดใหญ่ที่นำเสนอนี้อ้างอิงจากการศึกษาภาระของโรคไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาล
(Seasonal influenza) ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่างสำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศและ
International Emerging infection program ภายใต้ความร่วมมือระหว่างไทย-สหรัฐ
การประมาณต้นทุนทางเศรษฐศาสตร์นี้แบ่งเป็นสองส่วน คือ การประมาณต้นทุนของโรคไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาลและการประมาณต้นทุนกรณีเกิดการระบาดใหญ่ของไข้หวัดใหญ่
การศึกษานี้ประมาณต้นทุนทางเศรษฐศาสตร์จากมุมมองทางสังคม
โดยครอบคลุมการประมาณต้นทุนทางตรงและต้นทุนทางอ้อม ต้นทุนครอบคลุมถึงต้นทุนค่ารักษาพยาบาล
(medical care cost)และค่าเดินทาง (transportation) ค่าเสียโอกาสจากการขาดงาน
(productivity loss)ทั้งของผู้ป่วยและญาติผู้ที่ต้องหยุดงานเพื่อดูแลผู้ป่วย
การศึกษานี้ครอบคลุมผู้ป่วยโรคไข้หวัดใหญ่ที่เข้าทำการรักษาพยาบาลแบบผู้ป่วยนอกด้วยอาการหวัด(influenza
like symptoms)และผู้ที่ต้องนอนโรงพยาบาลเนื่องจากปอดอักเสบที่ได้รับการตรวจยืนยันทางห้องปฏิบัติการว่าเกิดจากเชื้อไข้หวัดใหญ่เท่านั้น
การประมาณความสูญเสียทางเศรษฐกิจนี้ถือว่าเป็นการประมาณค่าสูญเสียแบบขั้นต่ำเนื่องจากการศึกษานี้ไม่ได้ต้นทุนทางเศรษฐกิจในกรณีที่ผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่ที่รักษาตัวเองที่บ้าน
ผู้ที่ซื้อยากินเอง ผู้ที่เป็นไข้หวัดใหญ่นอกเหนือจากอาการแสดงดังกล่าวข้างต้น
ความสูญเสียกรณีที่ผู้ป่วยเสียชีวิต การสูญเสียต่อเนื่องทางด้านเศรษฐกิจและผลกระทบวงกว้างด้านสังคมจากการเจ็บป่วยไข้หวัดใหญ่
การศึกษานี้ใช้ข้อมูลจากหลายส่วนด้วยกัน เช่น การศึกษาระบาดวิทยาไข้หวัดใหญ่ในจังหวัดสระแก้ว
ข้อมูลจากการสำรวจอนามัยและสวัสดิการของครัวเรือนจากสำนักงานสถิติแห่งชาติ
ข้อมูลค่ารักษาพยาบาลของโรงพยาบาลของกระทรวงสาธารณสุข
ผลการศึกษาพบว่าในปี 2547 ต้นทุนทางเศรษฐศาสตร์ของไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาลสำหรับประเทศไทยอยู่ระหว่าง
928 2,360 ล้านบาท โดยที่เป็นการสูญเสียจากค่ารักษาพยาบาล 384-824
ล้านบาท ค่าใช้จ่ายในการเดินทาง 80-300 ล้านบาท และ ค่าเสียโอกาสจากการทำงาน
464-1,236 ล้านบาท โดยรวมคิดเป็นต้นทุนทางเศรษฐศาสตร์ระหว่าง 992
2,417 บาทต่อผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาลหนึ่งราย
การประมาณการต้นทุนทางเศรษฐศาสตร์กรณีเกิดการระบาดใหญ่ของไข้หวัดใหญ่ได้ประมาณการสมมุติฐานอัตราติดเชื้อของประชากรสามกลุ่ม
คือ กลุ่มอายุน้อยกว่า 15 ปี กลุ่มอายุ 15-60 ปี และกลุ่มอายุมากกว่า
60 ปี ต้นทุนทางเศรษฐศาสตร์ต่อหนึ่งรายของผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่จากการการประมาณการของไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาลข้างต้น
และการประมาณการประชาการทั้งสามกลุ่มอายุของสำนักงานสถิติแห่งชาติ
จากข้อมูลและสมมติฐานข้างต้นพบว่า ประมาณการต้นทุนทางเศรษฐศาสตร์กรณีเกิดการระบาดใหญ่ของไข้หวัดใหญ่ในปี
2551 ปี 2552 และ ปี 2553 จะอยู่ระหว่าง 4.74 - 46.15 พันล้าบาท 4.78
- 46.60 พันล้านบาท และ 4.84 - 47.20 พันล้านบาทตามลำดับ
โดยสรุปต้นทุนทางเศรษฐศาสตร์ของไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาลของประเทศไทยประมาณว่าอยู่ระหว่าง
0.9-2.4 พันล้านบาทต่อปี ต้นทุนนี้อาจสูงเพิ่มเป็น 5 46 พันล้านบาทกรณีที่มีการระบาดใหญ่
จากสมมุติฐานที่ใช้ในการประมาณการทำให้เชื่อได้ว่าการประมาณต้นทุนทางเศรษฐศาสตร์นี้ถือเป็นการประมาณความสูญเสียขั้นต่ำ
เช่น การประมาณการนี้ไม่ครอบคลุมผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคมของการระบาดใหญ่
เป็นต้น อย่างไรก็ตามข้อมูลต้นทุนทางเศรษฐศาสตร์นี้มีประโยชน์ในการยืนยันความสำคัญของการเตรียมการหากเกิดการระบาดใหญ่ของไข้หวัดใหญ่ในอนาคต
<<back
|