การเฝ้าระวังไวรัสไข้หวัดใหญ่ทางห้องปฏิบัติการในประเทศไทย
มกราคม 2547 - มิถุนายน 2549

บรรยายโดย ปราณี ธวัชสุภา


        โรคไข้หวัดใหญ่มีสาเหตุจาก Influenza virus ไวรัสนี้แบ่งเป็นชนิด A,B และ C Influenza A ทำให้ผู้ป่วยมีอาการรุนแรงกว่า Influenza B และยังจำแนกเป็น subtype ต่างๆตามคุณสมบัติของ haemagglutinin(H) และ neuraminidase(N) ที่อยู่บนเปลือกผิวของไวรัสนี้ subtypeที่ระบาดทั่วโลกในปัจจุบัน คือ H1N1 และ H3N2 Influenza A ยังเป็นสาเหตุของการระบาดใหญ่ครั้งแรกจาก subtype H1N1 ในปี 2461 ที่ชื่อว่า Spanish pandemic ทำให้มีผู้เสียชีวิตราว 20-40 ล้านคน ต่อมามีการระบาดใหญ่อีกจาก H2N2 และ H3N2 แต่ละครั้งทำให้คนเสียชีวิตนับล้าน จากมหันตภัยของไข้หวัดใหญ่ที่เกิดขึ้นจำเป็นต้องป้องกันและควบคุม WHO จึงได้จัดตั้ง Global influenza surveillance network 4 แห่ง ณ ประเทศอังกฤษ สหรัฐอเมริกา ออสเตรเลียและญี่ปุ่น เพื่อการประสานความร่วมมือเฝ้าระวังทั่วโลก จึงได้จัดตั้งNational influenza center (NIC) 114 แห่งใน 84 ประเทศ ประเทศไทยได้รับการรับรองให้เป็นศูนย์ไข้หวัดใหญ่แห่งชาติ(NIC) ณ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ในปี 2515 และทำการเฝ้าระวังตัวเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ในเชิงรุกตั้งแต่นั้นมา ปัจจุบันได้ขยายเครือข่ายการเฝ้าระวังไปยังทุกภาคของประเทศ ปี 2540 ที่ฮ่องกงพบมีการติดเชื้อไวรัสไข้หวัดนก H5N1 จากสัตว์ปีกมาสู่คนเป็นครั้งแรก มีผู้ป่วย 18 ราย เสียชีวิต 6 ราย นับเป็นอัตราตายสูง ปี 2546ที่เนเธอร์แลนด์ พบผู้ป่วยไข้หวัดนก H7N7 จากสัตว์ปีกสู่คน แถบทวีปเอเชีย เวียดนามเป็นประเทศแรกที่รายงานผู้ป่วยไข้หวัดนก H5N1 ต่อมาการระบาดขยายไปยังทวีปยุโรป ผู้ป่วยไข้หวัดนกตรวจยืนยัน H5N1 ที่รายงาน WHO (2546 – 6 มิถุนายน 2549) พบ จำนวน 225 ราย เสียชีวิต 128 ราย การที่มีการระบาดของไข้หวัดนกในสัตว์ปีกเพิ่มสูงขึ้นเรื่อย ๆ ทำให้มีโอกาสติดเชื้อมายังคนเพิ่มมากขึ้น การเสี่ยงต่อการกลายพันธุ์ของเชื้อสูงขึ้น หากมีการแลกเปลี่ยนสารพันธุกรรมระหว่างเชื้อไข้หวัดนกกับไข้หวัดใหญ่ เกิดไวรัสตัวใหม่ที่สามารถติดเชื้อจากคนสู่คนได้ง่าย ทำให้ผู้ป่วยอาการรุนแรง การระบาดใหญ่ย่อมเกิดขึ้น ปี 2547 ประเทศไทยพบการระบาดไข้หวัดนก H5N1 เป็นครั้งแรก การตรวจวิเคราะห์ต้องการผลเร่งด่วน ดังนั้นศูนย์ไข้หวัดแห่งชาติ จึงได้พัฒนาวิธีการตรวจหาสารพันธุกรรมด้วยวิธี conventional RT-PCR และ real time RT-PCR โดยตรวจหา Influenza A,B หาก Influenza A ให้ผลบวก จะทำการตรวจหาsubtype H1,H3และ H5 ซึ่งสามารถรายงานผลเบื้องต้นภายใน 24 ชั่วโมง นำตัวอย่างทั้งหมดมาแยกเชื้อในเซลล์เพาะเลี้ยง และจำแนก type, subtype ด้วยวิธี immunofluorescence โดยใช้ WHO monoclonal antibody ผลการแยกเชื้อในปี 2547 พบมีการระบาดของ H1N1 เริ่มตั้งแต่สิงหาคมถึงพฤศจิกายน subtype H3N2 และ Influenza B แยกได้ประปราย 2548 H1N1 ลดน้อยแต่แยก H3N2 และ Influenza B ได้เพิ่มขึ้น ส่วนปี 2549 เริ่มมีการระบาดของ H1N1ช่วงเมษายน – มิถุนายนในบางจังหวัด การศึกษาสายพันธุ์ H1N1 ยังคงเป็นสายพันธุ์เดิม คือ A/New Caledonia/20/99 H3N2 สายพันธุ์ที่พบในช่วงต้นปี 2547 เป็น A/Fujian/411/2002 ต่อมาเปลี่ยนเป็น A/Wellington/1/2004,A/California/7/2004 และล่าสุดพบ A/Wisconsin/87/2005 InfluenzaB สายพันธุ์ที่พบคือ B/HongKong/330/2004 , B/Shanghai/361/2002 , B/Sichuan/739/99 และ B/Malaysia/2506/2004 วัคซีนที่ WHO กำหนดสำหรับใช้แถบซีกโลกภาคใต้ในปี 2549 คือ A/New Caledonia/20/99 (H1N1), A/California/7/2004 (H3N2) และ B/Malaysia/2506/2004 ส่วนวัคซีนที่ WHO กำหนดสำหรับใช้ปี 2549-2550 แถบซีกโลกภาคเหนือ คือ A/New Caledonia/20/99 (H1N1), A/Wisconsin/67/2005 (H3N2) และ B/Malaysia/2506/2004 จะเห็นว่าคล้ายคลึงกับสายพันธุ์ที่ระบาดอยู่ในประเทศไทย จากการศึกษา HA และ NA gene โดย nucleotide sequence และ phylogenetic tree พบว่าเชื้อไวรัสไข้หวัดนกที่แยกได้ในไทยในปี2547-2548 อยู่ในกลุ่ม 1 ซึ่งเป็นกลุ่มเดียวกับประเทศเวียดนามและกัมพูชา สายพันธุ์ผู้ป่วยไข้หวัดนกคล้ายคลึงกับA/Vietnam/1203/04

 

<<back